ในธุรกิจประกันภัยไทยโดยเฉพาะประกันวินาศภัยไทยจะยิ่งมีให้เห็นมากขึ้นหลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เตรียมออกกฎเพิ่มเงินกองทุนขั้นต่ำของบริษัทประกันวินาศภัยจาก 30 ล้านบาทเป็น 500 ล้านบาทภายใน 5 ปีประเทศไทยเดินหน้าไปเร็วกว่าญี่ปุ่นเพราะหลังๆการตื่นตัวทำประกันภัยมากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาจะเร็วกว่าญี่ปุ่นแน่ ประเทศไทยที่มีศักยภาพการเติบโตคือประกันภัยรถยนต์เพราะการทำประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจยังน้อยนอกจากนี้ยังมีประกันอัคคีภัยคือเมื่อคนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นจะมองหาที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าสูงขึ้น ก็จะซื้อประกันภัยเพิ่มขึ้นด้วยขณะที่ประกันภัยรถยนต์เป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจแต่ที่เติบโตแน่นอนคือ ประกันสุขภาพ หลังการเปิดเสรี ทุกประเทศต้องระวังเรื่องการแข่งขันตัดราคาเบี้ย ประกันภัย อย่างรุนแรง อย่างที่สหรัฐฯ และยุโรป หลังการเปิดเสรี มีการตัดราคากันมาก ทำให้หลายบริษัท ประกันภัย ล้มละลาย ซึ่งในอนาคตไทยก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่การเปิดเสรีเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ เช่นกัน โดยในญี่ปุ่นได้ป้องกันด้วยการตั้งหน่วยงานคำนวณอัตราเบี้ย ประกันรถยนต์ อ้างอิง เพื่อให้ทุกบริษัท ประกันภัย รู้ราคาที่เหมาะสม ทั้งไทยและญี่ปุ่นมีความร่วมมือในการพัฒนาตลาดประกันวินาศภัยกันมานานแล้ว ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งล่าสุด เป็นเรื่องของการ ประกันภัยรถยนต์ โดยนำเสนอภาพรวมเบี้ย ประกันภัย หลักเกณฑ์การกำกับการรับ ประกันภัย แบบประกันภัย อัตราเบี้ย และการจัดการสินไหมทดแทนของญี่ปุ่นให้กับบริษัท ประกันภัย ของไทย เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนา ประกันรถยนต์ ทำให้รากฐานธุรกิจไทยมั่นคงมากขึ้น
เรื่องราวเกี่ยวกับการประกันรถยนต์
ทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับการประกันรถยนต์
1.ทฤษฎีกฎของการเฉลี่ย หมายถึง ถ้ากลุ่มผู้เสี่ยงภัยมีน้อย ก็จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูง ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานในเรื่องการประกันรถยนต์เป็นไปได้ยาก และถ้ากลุ่มผู้เสี่ยงภัยมีมาก ก็จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยในอัตราที่ต่ำ ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานในเรื่องการประกันรถยนต์เป็นไปได้ด้วยดีนั้นเอง
2.ทฤษฎีความน่าจะเป็น หมายถึง ทฤษฎีพื้นฐานซึ่งบริษัทประกันรถยนต์ได้นำไปใช้เป็นค่าประมาณในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ทำประกันภัย
3.ทฤษฎีกฎว่าด้วยจำนวนมาก ซึ่งมีหลักการว่าด้วยการเพิ่มจำนวนของวัตถุที่ร่วมเสี่ยงภัยหรือวัตถุที่เอาประกันมากขึ้น โดยค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงหรือเท่ากันกับค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้หรือความน่าจะเป็นของโอกาสที่เกิดความเสียหายจะแม่นยำหรือถูกต้องมากขึ้น มีประโยชน์สำหรับการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยแต่ละประเภท ตัวอย่างเช่น การเสี่ยงภัยจะลดลง ถ้าจำนวนวัตถุที่มีส่วนในเหตุการณ์เสี่ยงภัยมากยิ่งขึ้น
ประเภทของการประกันภัยรถยนต์ สามารถแบ่งตามลักษณะได้ 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่
1.ตามหลักวิชาการประกันภัย มี 3 ประเภท คือ 1.การประกันภัยบุคคล 2.การประกันภัยทรัพย์สิน 3.การประกันภัยความรับผิดชอบตามกฎหมาย
2.ตามหลักการทางธุรกิจประกันภัย มี 2 ประเภท คือ 1.การประกันชีวิต 2.การประกันวินาศภัย แบ่งเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้ 1.ประกันอัคคีภัย 2.ประกันภัยรถยนต์ 3.ประกันทางทะเลและขนส่ง 4.ประกันภัยเบ็ดเตล็ด
ประโยชน์ของการประกันรถยนต์
1.ต่อบุคคลผู้ประกันภัย คือ การให้หลักประกันต่อบุคคลผู้เอาประกันภัยและครอบครัว เมื่อเกิดอุบัติเหตุและทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตไป และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแก่ทรัพย์สินของบุคคลผู้เอาประกันภัย โดยบุคคลผู้เอาประกันภัยจะได้รับค่าสินไหมทดแทน
2.ต่อเศรษฐกิจและสังคม คือ เป็นการลดความไม่แน่นอนในสังคมและสวัสดิภาพของสังคม ซึ่งช่วยสร้างความมั่นคงในสังคมและยังช่วยให้มีการระดมทุนในการพัฒนาประเทศชาติ
3.ต่อธุรกิจ คือ เป็นการก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นหลักประกันของสินเชื่ออนุมัติของธนาคาร โดยช่วยให้เกิดการค้าขายระหว่างประเทศเป็นไปอย่างดีและช่วยให้เกิดการคำนวณต้นทุนที่มีความใกล้เคียงต่อความเป็นจริงนั้นเอง